วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปจากการไปดูงาน บริษัทโอสถสภา จำกัด
บริษัท โอสถสภา จำกัด เป็นบริษัทผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2434 ในนาม "ร้านขายยาเต๊กเฮงหยู" ซึ่งนายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ เป็นผู้ก่อตั้ง เริ่มจากกิจการขายของเบ็ดเตล็ด ต่อมาได้เริ่มผลิตยากฤษณากลั่น ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษา โรค ปวดท้อง ท้องร่วง
ต่อมาได้นำยากฤษณากลั่นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในการซ้อมรบของกิจการเสือป่าที่จังหวัดนครปฐม จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 ได้ย้ายร้านขายยาจากย่านสำเพ็ง มาที่ถนนเจริญกรุง และได้เปลี่ยนชื่อว่า "โอสถสถานเต๊กเฮงหยู" และยังได้ผลิตยาสามัญประจำบ้านอื่นๆ เช่น ยาหอมชนะลม, ยาสบาย, ผลไม้กวน,ยาธาตุ, ยาแก้ไอ, ยาอมวัน-วัน, ยาอมโบตัน, ยาทัมใจ เป็นต้น ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานครุฑตราตั้งแก่บริษัทฯ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502
ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ
มีผลิตภัณฑ์กว่า 32 แบรนด์ นับ100 รายการทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและกลุ่มผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล
120ปีโอสถสภา กับแนวคิด CSR
(Corporate social responsibility)
กว่า 120ปี ที่ใกล้ชิดผูกพันกับคนไทยและสังคมไทยมายาวนาน ยึดมั่นในปรัชญาของการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้ บริษัทโอสถสภา เป็นองค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่มีความมั่นคงทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันการสร้างกระแส CSR เป็น กลยุทธ์ทั้งทางด้านธุรกิจ และการตลาดที่บริษัทชั้นนำของไทย ให้ความสนใจกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้านหนึ่งเพื่อตอบแทนกลับคืนสังคม อีกด้านหนึ่งก็เพื่อสร้างแบรนด์ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
กิจกรรมส่งเสริมการตลาด
 การศึกษา
เพราะการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน สังคมและประเทศชาติ โดยเราให้ความสำคัญของการศึกษา ตั้งแต่ การสร้างโรงเรียนโอสถสภาอุปถัมภ์ สร้างอาคารเรียนโรงเรียน วัดตโปทาราม โครงการมอบทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาคณะ- แพทยศาสตร์ และเภสัชศาสาตร์ หรือแม้แต่การสนับสนุนโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนบางปะหัน) แล้วเข้าสู่ โครงการหนึ่งใจ...ติวให้น้อง OSOTSPA Road to University 2011สานฝันเยาวชนไทยสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในปี 2550ที่เรา ต้องการให้คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนและเยาวชนที่ไม่เคยสัมผัสกับ การเรียนการสอนในโรงเรียนกวดวิชาใดมาก่อน ได้เข้าเรียนกับ ติวเตอร์ชื่อดังของเมืองไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดและในปีนี้นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา แก่เยาวชน ดำริให้มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ฯ เข้าร่วมกับบริษัทโอสถสภา ในโครงการนี้ และทรงโปรดให้คุณธนา ไชยประสิทธิ์ เป็นผู้แทน พระองค์ ถือเป็นปีมงคลยิ่งที่เราทุกคนควรปลื้มปีติในองค์กร และภาคภูมิใจในกิจกรรมที่เราได้ทำเพื่อเยาวชนไทย
 Peptien Genius Generation
โครงการกวดวิชาสำหรับนักเรียนที่ต้องการสอบเข้าศึกษาต่อในคณะและสาขาที่ตนเองชอบ อาทิ คณะแพทยสาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นต้น
 OSOTSPA Talent Camp
โครงการที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้กับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีสุดท้าย จากสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศได้เข้ามารับถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ทางด้านธุรกิจรวมไปถึงการฝึกฝนการทำงาน เป็นทีม การสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนต่าง มหาวิทยาลัย และโอกาสที่จะได้เพิ่มพูนทักษะในการคิดวิเคราะห์จาก โจทย์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ที่ไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน
 
M-150 TV Creation
เป็นโครงการที่มุ่งสร้างบุคลากรเบื้องหลังให้กับวงการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะในด้านโทรทัศน์ด้วยการจัดอบรมวิธีการผลิตหนังสั้น สารคดี ซึ่งทีมที่ชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัลและถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
 โครงการพลังใจเพื่อเหรียญทองไทยในโอลิมปิก
เพื่อเป็นการตอบแทนนักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ ทั้งใน เวทีระดับชาติ และระดับโลก นอกจากนี้เรายังได้มอบตำแหน่ง พนักงานกิตติมศักดิ์ ให้กับนักกีฬาที่ได้เหรียญจากโอลิมปิกนับตั้งแต่ โอลิมปิกครั้งที่ 23ที่นครลอสแองเจลิส โดยในครั้งนั้น ทวี อัมพรมหา คว้าเหรียญเงินแรกได้สำเร็จ และจากจุดนั้นได้ก้าวเข้ามาสู่การเป็น พนักงานอย่างเต็มตัวหลังจากแขวนนวม
 สโมสรฟุตบอลโอสถสภา M-150
หนึ่งในสโมสรที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดของไทย ก่อตั้งเมื่อปี 1997และสร้างชื่อเสียงอยู่ในอันดับต้นๆ ของสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ปัจจุบันใช้ชื่อทีมว่า สโมสรฟุตบอลโอสถสภา M-150สระบุรีเป็น ความร่วมกับทางอบจ.สระบุรี ในการพัฒนาและยกระดับการกีฬา ฟุตบอลในระดับท้องถิ่น
โครงการฝึกอบรมฟุตบอลภาคฤดูร้อน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนฝีเท้าดีเข้าร่วมฝึกซ้อมและทดสอบฝีเท้า เพื่อก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม      โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
 Social contribution  for life’s better
พันธกิจเพื่อสังคม
ทุกครั้งที่ประเทศไทยประสบพิบัติภัยทางธรรมชาติ และสาธารณภัย โอสถสภาเราไม่เคยลืมและอยู่เคียงข้างคนไทยและสังคมไทยมาโดยได้มอบเงินและผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 ,ช่อง 5 ,ช่อง 7กองทัพบก และรายการวุฒิสภารวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมถึงมอบเงินและ ผลิตภัณฑ์แก่อบจ.จังหวัดสระบุรี และอบจ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Osotspa foundation  (มูลนิธิโอสถสภา)
มูลนิธิโอสถสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531โดยดำริของ    คุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมกิจกรรมสาธารณกุศล ที่มุ่งเน้นในด้านสาธารณสุข และการศึกษาโดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทนใดๆ เพียงเพื่ออยากเห็น สังคมไทยคือสังคมแห่งการให้อย่างแท้จริงดังจะเห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่กระจายสู่ทั่วภูมิภาค
ด้านสาธารณสุข
- การบริจาคเงินจำนวนกว่า 7ล้านบาท (ปี 2522)
  สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพยุพราชเดชอุดม เพื่อช่วยเหลือ
  ประชาชนที่เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร
- การสร้างสถานีอนามัยโอสถานุเคราะห์ จ.อุบลราชธานี บริจาค
- สร้างอาคารผู้ป่วย (อาคารสวัสดิ์-ล้อมโอสถานุเคราะห์)
  โรงพยาบาลจุฬาฯ
- โครงการฟันเทียมพระราชทานที่เราได้มอบแก่ผู้สูงอายุไปแล้ว
  จำนวน 1,600คนในพื้นที่ 16จังหวัดทั่วประเทศ
  เป็นจำนวนเงินกว่า 8.12ล้านบาท




ส่วนผสมของ M-150
นอกจากเครื่องดื่มให้กำลังงานจะมีแคฟเฟอีนแล้วยังประกอบด้วยสานอากาหาร มากมาย ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • อินโนซิตอล 50 มก.
  • น้ำตาลซูโครส 25 กรัม
  • ไนอะซินาไมด์ (B3) 20 มก.
  • แพนโทธีนอล (B5) 5 มก.
  • ไพริด๊อกซินเอชซีแอล (B6) 5 มก.
  • เทารีน (TAURINE) 0.8 กรัม
  • แคฟเฟอีน 0.05 กรัม
ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มแต่ละชนิด
การดื่มกาแฟ 1 ถ้วย (150 มิลลิลิตร) จะได้รับคาเฟอีนประมาณ 60-150 มิลลิกรัม ดื่มชา 1 ถ้วย จะได้รับคาเฟอีนประมาณ 40-80 มิลลิกรัม เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวดจะได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัม

ระบบการผลิตที่ทันสมัย
ศักยภาพด้านการผลิต  มีความพร้อมในด้านกำลังการผลิตมีโรงงานผลิต สินค้าจำนวน 6 แห่งเพื่อเป็นฐานในการผลิต ซึ่งโรงงานทุกแห่งได้นำเทคโนโลยี การผลิตที่ทันสมัยมาใช้เพื่อควบคุมและกำหนดคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และ ความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค พร้อมทั้งมีบริษัท สยามกลาส อินดัสทรี จำกัด Supply ขวดแก้ว เพื่อใช้ในการ ผลิตสินค้าสำเร็จรูป โดยเลือก ทำเลที่ตั้งให้ใกล้เคียงกับโรงงานผลิต และใช้ หลักการ Balance Demand & Supply กับเป้าหมายทางด้านการขาย เพื่อให้ ลดต้นทุนการผลิต ด้านการขนส่ง ลดเวลา ลดความเสียหาย และทำให้เกิดผล กำไร
บริษัทในเครือที่ผลิตขวดแก้ว   คือ บริษัท สยามกลาส อินดัสทรี จำกัด
บริษัท สยามกลาส อินดัสทรี จำกัด บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 โดยความริเริ่มของกลุ่มนักธุรกิจไทย มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 70 ล้านบาท ดำเนินการผลิตขวดแก้วปากกว้างและขวดแก้วปากแคบ ทั้งสีขาวและสีชา
      
บริษัทมีโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ มีกำลังผลิตทั้งสิ้น 600 ตันต่อวัน และได้รับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีจากบริษัท นิฮอน ยามามูระ กลาส จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตขวดแก้วในประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัทมีความพร้อมในการสนองตอบความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
  บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 : 2000 ในเดือนมิถุนายน 2546 ทำให้เป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าในด้านการผลิตขวดแก้ว
         ขบวนการผลิต

     การผลิตขวดแก้วมีขบวนการผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ การนำกลับเศษแก้วมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำให้บรรจุภัณฑ์แก้วได้รับการยอมรับว่า เป็นวัสดุที่ช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมและยังสนับสนุนการจัดการด้านอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรอีกด้วย 
กำลังผลิต 
     โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทตั้งอยู่บนพื้นที่ 40 ไร่ ประกอบด้วยสายการผลิตทั้งสิ้น 11 หน่วย มีความสามารถในการผลิตขวดแก้วขนาดตั้งแต่ 15 มล. จนถึง 750 มล. ทั้งสีขาวและสีชา 
คุณภาพ 
     เพื่อให้ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า บริษัทได้นำระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9001 : 2000 มาใช้ในการผลิต และยังได้รับความร่วมมือในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการผลิตขวดแก้วจากบริษัท นิฮอน ยามามูระ กลาส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
กระบวนการผลิต"รักษาสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                                    โรงงานผลิต        ของบริษัท สยามกลาสอินดัสตรี จำกัด บริษัทในเครือของโอสถสภา เป็นโรงงานที่นำเทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่ทันสมัยมาใช้จนกลายเป็นโรงงานผลิตขวดแก้วที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในไทยและในระดับภูมิภาคเอเชียอีกด้วย ซึ่งการขยายโรงงานเป็นการก่อสร้างในส่วนของพื้นที่สำหรับการผลิตเพิ่มจากเดิม โดยเสริมในส่วนการจัดหาบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับปริมาณการผลิตสินค้าของโอสถสภาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
            บริษัทฯใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในไลน์ของการบรรจุ ตั้งแต่กระบวนการจัดการด้านวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ เพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด โดยไม่ลืมที่จะใส่ใจกับการแก้ไขปัญหาและรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงระบบนิเวศน์ ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการของอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีแนวคิดและนโยบายที่สอดคล้องกัน จึงทำให้โรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานต้นแบบในการใส่ใจและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

บรรจุภัณฑ์แก้วกับสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์แก้วที่ใช้แล้ว สามารถนำกลับมาหลอมใหม่ (Recycle) ได้ 100% ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มหัศจรรของแก้ว โดยการทุบเป็นเศษแก้ว และนำกลับมาหลอมใหม่
         ในปัจจุบันโรงงานแก้วใช้เศษแก้วเป็นวัตถุดิบมากกว่า 50% ของวัตถุดิบทั้งหมด ทำให้ประหยัดพลังงานในการหลอมแก้ว ใช้เศษแก้ว 10% ของวัตถุดิบจะประหยัดพลังงานลงประมาณ 2% รวมทั้งลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (ใช้เศษแก้วหนึ่งตันจะช่วยลดการใช้วัตถุดิบใหม่ได้มากกว่าหนึ่งตัน!!!) และช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณขยะลงปีละหลายแสนตัน
         แก้วมีคุณสมบัติพิเศษเหนือวัสดุอื่นตรงที่สามารถนำกลับมาใช้หลอมใหม่ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยยังคงรักษาคุณสมบัติไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่วัสดุอื่นๆ หากจะนำกลับมาใช้ใหม่จะต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน และมักมีคุณสมบัติด้อยลงไป วัสดุบางชนิดก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติดังเดิมได้
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแก้ว
วัตถุดิบ (Raw material) ที่ใช้ในการผลิตแก้วมาจากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจะถูกเก็บไว้ในคอกเก็บวัตถุดิบและในไซโลที่โรงผสมวัตถุดิบ (Batch House) แยกตามประเภทของวัตถุดิบ โดยจะแบ่งเป็น วัตถุดิบหลัก และวัตถุดิบรอง
วัตถุดิบหลัก (
Major Ingredient) จะประกอบด้วย ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน หินฟันม้า และเศษแก้ว                                                 ทรายแก้ว (Glass Sand) 
ทรายแก้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Silica Sand [silica (silicon dioxide, or SiO2)] คือ ทรายชนิดหนึ่งที่มีซิลิกา เป็นส่วนประกอบกว่า 99.5% ทรายแก้วเมื่อหลอมจะกลายสภาพเป็นโครงสร้างหลักของเนื้อแก้ว แหล่งทรายแก้วปัจจุบันจะอยู่ที่จังหวัดระยองและชุมพร ทรายแก้วที่นำมาใช้จะแบ่งชนิดการใช้งานเป็น ทรายแก้วขาว ซึ่งมีส่วนผสมของเหล็กอ็อกไซด์ (Fe2O3) ในปริมาณที่น้อย เหมาะจะใช้กับการผลิตแก้วใส ส่วนทรายดำหรือสีชา จะมีเหล็กอ็อกไซด์สูงมากกว่า จึงเหมาะที่จะนำไปผลิตแก้วสีเช่น สีชาหรือสีเขียว เป็นต้น โซดาแอช (Soda Ash)
โซดาแอช หรือ ชื่อทางเคมีว่า โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium Carbonate) สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบของเกลือประเภทหนึ่งที่พบในดิน  หรือเกิดจากการสังเคราะห์เกลือแกง (Sodium Chloride) มีคุณสมบัติช่วยลดอุณหภูมิในการหลอมเหลว วัตถุดิบชนิดนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จากแหล่ง Magadi ประเทศ Kenya และ จากประเทศจีนเป็นต้น แก้วที่ใช้โซดาแอช เป็นส่วนผสมจะถูกเรียกว่า แก้วโซดาไลม์ หินปูน (Limestone)
หินปูน หรือ ชื่อทางเคมีว่า Calcium Carbonate สูตรเคมีคือ CaCO3 แหล่งที่พบได้คือจังหวัดสระบุรี ราชบุรี หินปูนมีคุณสมบัติในการเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อแก้วและทำให้แก้วมีความทนทานต่อสารเคมี 
เฟลด์สปาร์ Feldspar หรือหินฟันม้า  
หินฟันม้า พบมากในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี
  มีคุณสมบัติในการเพิ่มความคงทนของเนื้อแก้ว เศษแก้ว (Cullet)
เศษแก้วส่วนใหญ่ในการผลิตจะได้จากโรงแยกเศษแก้วในประเทศ  ซึ่งได้จากการรวบรวมบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใช้แล้วในภาคการค้าและครัวเรือน แล้วนำมาบดและคัดแยกสิ่งปนเปื้อนที่ไม่ต้องการออก เช่น ฝาโลหะ คออลูมิเนียม ฉลากกระดาษ ขยะ เป็นต้น เศษแก้วจะถูกส่งมาที่โรงงานแก้วโดยแยกตามสี คือ แก้วใส แก้วสีเขียว และแก้วสีชา 
         การใช้เศษแก้วเป็นส่วนผสมในวัตถุดิบจะช่วยให้สามารถประหยัดพลังงานความร้อนในการหลอมแก้ว โดยพลังงานความร้อนนี้ได้มาจากก๊าซธรรมชาติและ/หรือ ไฟฟ้า เนื่องจากการหลอมเศษแก้วจะใช้พลังงานต่อหน่วยในการหลอมน้อยกว่าการหลอมวัตถุดิบผสม อัตราส่วนของเศษแก้วที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วแต่ละสีโดยปกติจะไม่เท่ากัน (TGI จะใช้อยู่ในช่วงระหว่าง 65-85% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับตัวแปรในเรื่องคุณภาพของเศษแก้วเองว่ามีองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกับน้ำแก้วปัจจุบันที่กำลังผลิตอยู่หรือไม่ หากมีองค์ประกอบใกล้เคียงและไม่ทำให้คุณภาพของน้ำแก้วที่หลอมมีค่าเบี่ยงเบนไปจากเดิม ก็สามารถที่จะใช้ได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วจะใช้ได้ถึง 100% ในทำนองเดียวกันการใช้ปริมาณเศษแก้วมากก็สามารถที่จะเพิ่มปริมาณการหลอมน้ำแก้วได้มากยิ่งขึ้นด้วย  วัตถุดิบรอง (Minor Ingredient) ได้แก่                                                                                                         โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulphate)    เพื่อไล่ฟองก๊าซ                                                                                                                               ผงถ่าน (Coke dust)        เพื่อเร่งปฏิกิริยาในการหลอม (Reaction Accelerating  Agent) และควบคุมความเข้มของขวดสีชา กรณีที่ผลิตขวดแก้วสีชา
ซิลิเนียม (Selenium)       ใช้เพื่อฟอกสีแก้วให้ขาวขึ้น
สนิมเหล็ก (Iron oxide)     ให้สีชา
Iron chromites                ให้สีเขียว
วัตถุดิบรองแทบทั้งหมดเป็นวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว
     เริ่มตั้งแต่การตรวจรับ และตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบชนิดต่างๆ ตามมาตรฐาน เมื่อวัตถุดิบผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จะถูกจัดเก็บไว้ในคอกเก็บ และถังพักต่างๆ แยกตามชนิดของวัตถุดิบ    วัตถุดิบชนิดต่างๆ ซึ่งเก็บไว้ในไซโลในโรงผสมวัตถุดิบจะถูกนำมาชั่งน้ำหนักให้ได้ค่าตามที่กำหนดไว้ในสูตรผสมของแต่ละสีแก้ว ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกัน ทั้งเรื่องชนิดของวัตถุดิบและค่าน้ำหนัก     วัตถุดิบที่ผ่านการชั่งน้ำหนักแล้วจะถูกส่งเข้าโม่ผสม เพื่อที่จะทำให้เกิดการคลุกเคล้าเข้ากัน วัตถุดิบที่ผสมเข้ากันดีแล้ว จะถูกลำเลียงพร้อมด้วยเศษแก้ว เพื่อส่งไปเก็บยังไซโลของเตาหลอม และรอการป้อนเข้าเตาหลอม   ซึ่งความร้อนในการหลอมแก้วจะได้โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติและกระแสไฟฟ้า วัตถุดิบจะถูกหลอมเหลวที่อุณหภูมิในเตาหลอมประมาณ 1,600 องศาเซลเซียส    น้ำแก้วที่ได้จากการหลอมเหลวจะถูกส่งจากเตาหลอมผ่านรางลำเลียงไปยังสายการผลิต น้ำแก้วจะถูกตัดเป็นก้อนแก้ว  ให้มีขนาด รูปร่างและอุณหภูมิที่เหมาะสมและจะต้องให้ได้น้ำหนักของก้อนแก้วเท่ากับขวดแก้วที่ต้องการด้วย  ต่อจากนั้น gob จะถูกปล่อยให้หยดลงไปในแบลงค์ หรือเบ้าชุดแรกเพื่อขึ้นรูปขั้นต้นที่เรียกว่า พาริสัน  ซึ่งจะมีปากที่สมบูรณ์และรูปทรงที่พอเหมาะ เตรียมส่งไปยังอีกเบ้าหนึ่งที่เรียกว่าโมลด์  หรือเบ้าพิมพ์สำหรับขึ้นรูปลำตัวและก้นให้เป็นบรรจุภัณฑ์แก้วที่เสร็จสมบูรณ์     บรรจุภัณฑ์แก้วที่ขึ้นรูปแล้วจะถูกลำเลียงมาตามสายพานลำเลียงเข้าไปยังรางอบ (Annealing Lehr) เพื่อปรับลดอุณหภูมิลงอย่างช้าๆจากประมาณ 550 องศาเซลเซียส ให้ค่อยๆ เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปกติ หลังจากนั้นบรรจุภัณฑ์แก้วทุกใบจะถูกเคลือบด้วยน้ำยา  เพื่อให้ผิวด้านนอกมีความลื่น เรียบสวยงาม และไม่เป็นรอยเมื่อเสียดสีกัน        หลังจากเคลือบน้ำยาแล้วบรรจุภัณฑ์แก้วทุกใบจะต้องผ่านเครื่องตรวจคุณภาพอัตโนมัติ เพื่อที่จะทำการตรวจหาความบกพร่อง (Defects) ต่างๆตั้งแต่ ปาก ลำตัว ไปจนถึงบริเวณก้น บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจะถูกส่งไปบรรจุในขั้นตอนถัดไป ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน จะถูกนำกลับไปหลอมใหม่ 
นอกจากนั้นแล้ว TGI ยังมีแผนกประกันคุณภาพ ที่จะทำหน้าที่เสริมความมั่นใจด้านคุณภาพโดยจะสุ่มตรวจสินค้าที่บรรจุพร้อมส่งไปให้ลูกค้าตามมาตรฐานการสุ่มตรวจที่ถูกกำหนดไว้ เพื่อความมั่นใจว่าสินค้าที่ออกจากโรงงานมีคุณภาพได้มาตรฐาน  การตรวจสอบบรรจุภัณฑ์แก้วในห้องแลบ ถือเป็นการประกันคุณภาพอีกส่วนหนึ่ง โดยจะตรวจวัดคุณลักษณะต่างๆทางด้านฟิสิกส์ ไม่ว่าจะเป็น ความหนา ขนาด น้ำหนัก การทนต่อแรงกระแทก อุณหภูมิที่แตกต่าง (Thermal Shock)  ความสามารถในการทนต่อแรงอัดและสารเคมี ถ้าสินค้าที่ผลิตในลอตนั้นได้มาตรฐานก็จะถูกส่งไปจำหน่ายยังลูกค้า  หากไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะถูกกักไว้เพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป    บรรจุภัณฑ์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุเครื่องดื่มและน้ำอัดลมต้องมีการพิมพ์สีเพื่อแสดงตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์  บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วจะถูกส่งมายังส่วนงานพิมพ์สีซึ่งใช้เทคนิคการพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen printing) ลงบนพื้นผิวบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นบรรจุภัณฑ์แก้วที่พิมพ์สีแล้วจะถูกนำไปเข้ารางอบที่มีอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีที่พิมพ์ติดอยู่บนพื้นผิวถาวร  บรรจุภัณฑ์แก้วที่ผ่านการผลิตและตรวจสอบทุกขั้นตอนจนแน่ใจว่าได้คุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้วจะถูกบรรจุด้วยเครื่องบรรจุอัตโนมัติ (Palletizer) จากนั้นจะมีการพันฟิล์มหรือคลุมถุงครอบกระบะไว้ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในคลังสินค้ารอการจัดส่งต่อไปยังลูกค้า
กระบวนการเตรียมน้ำบริสุทธิ์
เริ่มจากการกรองน้ำขั้นต้นน้ำจากเครื่องกรองน้ำระบบ RO. เป็นน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ และในขณะเดียวกันก็เป็นน้ำที่ปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นพิษต่อร่างกายได้ถึง 95 % เนื่องจากประสิทธิภาพของเครื่องกรองน้ำระบบ RO.
ต้องการให้ท่านได้น้ำดื่มบริสุทธิ์เท่านั้น
     ถ้าท่านต้องการแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถหาได้จากอาหารหลัก 5 หมู่ ตามความรู้สุขศึกษาเบื้องตนที่ได้เรียนมา สมมติว่า ถ้าท่านต้องการแคลเซียมจากน้ำ ถ้าท่านดื่มน้ำท่านก็จะได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าไปด้วย เช่น สารตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม ยาฆ่าแมลง เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายด้วย
    จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่า น้ำมิใช่อาหาร เราควรดื่มน้ำที่บริสุทธิ์เท่านั้น ยิ่งบริสุทธิ์มากขึ้นเท่าใด สุขภาพเราก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น
ระบบ RO. ผ่านกระบวนการกรอง 4 ขั้นตอน ดังนี้
        1. Sediment Filter เป็นการกรองตะกอนหยาบขั้นต้น โดยตะกอนหยาบสิ่งสกปรกที่ปะปนมากับน้ำทุกชนิด เช่น ทรายละเอียด สนิทเหล็ก เศษผง จุลินทรีย์ และสามารถกรองสิ่งเล็กกว่าเส้นผมได้ถึง 5 เท่า โดยเยื่อกรองเป็น Polypropelyn Filter ขนาด 5 ไมครอน เป็นการปรับสภาพน้ำระดับหนึ่ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของเยื่อกรองหลัก
        2. Pre – Carbon Filter สารกรองจะเป็นถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) ซึ่งจะลดปริมาณคลอรีนในขณะที่น้ำไหลผ่าน จะช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำและป้องกันความเสียหายให้กับเยื่อกรองหลัก นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุง สี กลิ่น และรสของอน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากสารอินทรีย์ คลอรีนในน้ำ ผงซักฟอกฟีนอล และยาฆ่าแมลง
        3. RO. Membrane จะสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เป็นกระบวนการที่ใช้ความดันน้ำผ่านเยื่อกรอง (Semipermeable Membrane) ซึ่งเป็นเยื่อของสะสารที่สามารถให้น้ำซึมผ่านได้ มีรูขนาด 0.0001 ไมครอน สามารถขจัดสารเคมีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม ฯลฯ และเชื้อโรคต่าง ๆในน้ำได้มากถึง 95 %
        4. Post – carbon Filter สารกรองจะเป็นถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) จะเป็นการปรุงแต่งรสชาดของน้ำ เป็นขึ้นตอนสุดท้ายของระบบการกรอง ขจัดกลิ่น หรือ ก๊าซ ที่ยังคงเหลือในน้ำและปรับรสชาติของน้ำให้เป็นธรรมชาติ




                                                                             

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์สวอต

แผนภูมิอธิบายการวิเคราะห์แบบSWOT
การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

 ความหมาย SWOT

คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
  • S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
  • W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
  • O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
  • T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง

 อ้างอิง

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

นิยามของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ
การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่ สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง โลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อน ย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน

โลจิสติกส์      หมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
กิจกรรมหลัก (Key Activities) ได้แก่
- ระบบการขนส่ง (
Transportation)

- การบริหารสินค้าใน
stock ( Inventory Management)
- ขบวนการสั่งซื้อ (
Order Processing)
- การจัดการด้านข้อมูล (
Information Management)
- การจัดการด้านการเงิน (
Financial Management)
กิจกรรมสนับสนุน (
Supporting Activities) ได้แก่
- การบริหารคลังสินค้า (
Warehouse Management)

- การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต (
Material Handling)
- การจัดซื้อ (
Purchasing)
- การบรรจุหีบห่อ (
Packaging)
- การบริหารความต้องการของสินค้า (
Demand Management)                              
โลจิสติกส์สำคัญอย่างไร
    สหรัฐอเมริกา ประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง อาจจะกล่าวได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก  ดูจากการเปลี่ยนแปลงของอเมริกาก็ว่าได้ สหรัฐอเริกามีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างต่อเนือง และมีความก้าวหน้า  เป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจเป็นหลัก เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในการลดต้นทุน  โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการสร้างความร่วมมือกันในโซ่อุปทานโดยใช้การบริหาร  นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีความตื่นตัวในการจัดระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง และที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี จากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนือง (จากประมาณร้อยละ 16 ของ GDP ในปี 1981 ลงมาเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2001) และจากการลดต้นทุนดังกล่าวทำให้เกิดทฤษฎี  ประมาณว่าในระดับธุรกิจนั้น พบว่าหากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 แล้วจะสามารถทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ และหากประเทศหนึ่งๆ สามารถลดต้นทุนการขนส่งร้อยละ 10 แล้วจะสามารถเพิ่มการค้ารวม (ภายในและส่งออก) ได้ถึง ร้อยละ 20  สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศนั้นจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงร้อยละ 1.5-2.0 หากประเทศนั้น  สามารถ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15-20
 
การส่งสินค้าและการจัดเก็บ
 1. ขอความร่วมมือจากซัพพลายเออร์ให้ส่งสินค้าเป็นแบบใส่พาเลทมากขึ้น ลองเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานดู หากขนถ่ายสินค้าที่ไม่บรรจุพาเลทต้องใช้พนักงาน 3 คนและใช้เวลาถึง 4 ชม. กับการขนสินค้าจำนวนเท่ากัน แต่การใส่พาเลทและใช้พนักงานคนเดียวทำเสร็จภายใน 30 นาที อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน ร้านค้าปลีกรายใหญ่บางแห่งจะกำหนดขนาดและแบบพาเลทให้ซ้อนกันได้ด้วย เพื่อไม่ต้องเสียเวลาขนถ่ายใหม่ คู่ค้ารายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปฏิเสธการรับสินค้า
2. วางแผนจัดเก็บสินค้าด้วยพาเลทให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางครั้งอาจจำเป็นต้องจัดพาเลทในคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าที่เข้ามาจาก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ใส่พาเลทด้วย ในกรณีนี้ อาจต้องหาโปรแกรมคำนวณการจัดพาเลทมาช่วยงาน เพียงใส่ตัวเลขขนาดคาร์ตัน เครื่องก็จะคำนวณรูปแบบการจัดวางที่มีประสิทธิภาพที่สุดออกมา แต่ต้องแจ้งพนักงานจัดพาเลทใช้ให้เหมาะกับงาน
3. จัดตั้งพาเลทแนวสูงหากคลังสินค้ามีพื้นที่พอ เพราะการวางสูงขึ้นไปจะทำให้ขนย้ายสินค้าได้มากชิ้นต่อครั้ง ช่วยลดจำนวนครั้งในการขนถ่ายลง แต่ต้องดูสมรรถนะของโฟล์กลิฟท์ที่ใช้ด้วยว่าไปกับความสูงได้
4. ขอให้ซัพพลายเออร์จัดสินค้ารายการเดียวกันอยู่รวมกัน เช่น สินค้าชนิดหนึ่งส่งมา 12 คาร์ตัน สินค้านั้นก็ควรจะอยู่ที่เดียวกันภายในคอนเทนเนอร์ ไม่ใช่อยู่ด้านหน้า 4 คาร์ตัน ตรงกลาง 4 คาร์ตันและที่เหลืออยู่ในสุดของตู้ บริษัทบางแห่งจัดพิมพ์คู่มือการขนถ่ายสินค้าให้กับซัพพลายเออร์ด้วย หากรายใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับ
5. ประสานงานกับ carrier ให้มาส่งของนอกเวลาพีคไทม์ พนักงานจะได้ขนของโดยไร้ความกดดัน และคนขับรถก็ไม่ต้องต่อคิวนาน หรือต้องขับไปจอดหลบตรงนั้นตรงนี้ระหว่างรอ ซึ่งอาจทำให้ถูกปรับเพราะเกิดความล่าช้าที่คาดไม่ถึง
                
 6. บริหารคำสั่งซื้อแบบรายสัปดาห์หรือตามช่วงพีคของฤดูกาลล่วงหน้า เมื่อจัดการแพ็คเรียบร้อยแล้วก็ส่งไปเก็บ ณ จุดเตรียมส่งได้เลย วิธีการนี้เรียกว่า pack-and-hold orders คือ เตรียมออร์เดอร์ล่วงหน้าแล้วรอไว้เตรียมส่ง วิธีนี้เหมาะกับออร์เดอร์มาตรฐานที่สามารถหยิบนอกเวลาพีคไทม์และเก็บไว้ที่ จุดเตรียมส่งจนถึงกำหนดวันส่ง สามารถใช้ trailer และพาเลท ณ จุดเตรียมส่ง เป็นที่เก็บออร์เดอร์ล่วงหน้าได้
7. ประสานงานกับซัพพลายเออร์ให้บรรจุสินค้าให้เสร็จก่อน (pre-packs) บริษัทที่ทำอย่างนี้คือบริษัทเสื้อผ้าที่มักสั่งให้ผู้ผลิตในต่างประเทศติด บาร์โค้ด อาทิ รุ่น สี หรือขนาด ให้เสร็จก่อนทำการบรรจุ เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้า ก็สามารถสแกนแล้วติด label ใหม่ (เพื่อให้ตรงตามการจัดสรรพื้นที่และชั้นเก็บของที่เตรียมไว้ล่วงหน้า) และส่งต่อไปยังพื้นที่ส่งผ่าน (cross dock) ไปตามร้านค้าที่กำหนดได้เลย
8. ทบทวนเส้นทางของการหยิบเพื่อหาทางลดระยะทางในการทำงาน สินค้าที่ขายดีและเร็ว ควรจัดเก็บใกล้ประตูเข้าออกมากที่สุด เพื่อให้หยิบได้เร็ว ย้ายสินค้าที่พ้นฤดูกาลลึกเข้าไปข้างในแทน
9. เพิ่มชั้นเล็กเพื่อเก็บสินค้าที่มีรายการสินค้า (SKU) น้อย ปัจจุบันมีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการสั่งสินค้าเป็นกล่องแทน สั่งแบบเต็มพาเลท เพื่อให้สินค้าในคลังหมุนเวียนได้เร็ว การมีชั้นย่อยเพื่อเก็บสินค้าประเภทนี้ทำให้หาของได้ง่าย
10. สินค้าพวกลูกฟูกกินเนื้อที่ ไม่ควรสั่งมาเก็บให้เปลืองพื้นที่มีค่าในคลังสินค้า สินค้าประเภทนี้ควรสั่งเป็นแบบ just-in-time มากที่สุด
11.จัดการเคลียร์คลังสินค้าทุกจุดเป็นระยะๆ เพราะทิ้งไว้นานๆ คลังสินค้าจะรก กลายเป็นที่เก็บของไม่จำเป็น สิ้นเปลืองพื้นที่มีค่าโดยใช่เหตุ ควรย้ายของที่ไม่ใช้ประโยชน์ออกไป หรือคิดค่าเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานภายในบริษัทด้วยหากมีการนำมาฝากเก็บ